Diagonal Select - Hello Kitty

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่5

 บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์ 




วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 16 เดือน กันยายน 2557
ชื่อ นางสาว รัตติพร ชัยยัง กลุ่มเรียน 102 เวลา14.10 น. - 17.30 น.





 ความรู้ที่ได้รับ (The Knowledgo Gained  ) 

         วันนี้ครูให้ฟังเพลงและดูคลิปวิดิโอที่เด็กมัธยมจัดทำขึ้น และได้ให้เพื่อนๆออกไปนำเสนอบทความ  

 สรุปบทความเพื่อน 


1.Winat Yotkaew

       “หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่”         หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่ สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์  เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ        การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยนั้น ตอบโจทย์ครูได้ว่า ในการสอนบูรณาการวิทยาศาสตร์ ครูจะสอนอะไร จะสอนแค่ไหน จะสอนอย่างไร และจะใช้สื่อรอบ ๆ ตัวเด็กนั้นมาเป็นสื่อในการเรียนรู้อย่างไร เพราะฉะนั้นคุณครูมีแนวทางสามารถที่จะจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ ปฐมวัยได้แน่นอน”


2. Janjira Butchuang

มนุษย์เรามีความสัมพันธ์กับพืชตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงตลอดชีวิต เนื่องจากต้องพึ่งพาและใช้ประโยชน์จากพืชในการดำรง ชีวิต มนุษย์ต้องกินข้าว กินผัก และผลไม้เป็นอาหาร มนุษย์สร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยจากต้นไม้ ใช้ไม้ทำเครื่องเรือนหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ พืชบางชนิดมีคุณสมบัติในทางยาที่มนุษย์นำมาใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ต้นไม้ให้ร่มเงาและให้ก๊าซออกซิเจนซึ่งเป็นก๊าซที่บริสุทธิ์ที่มีประโยชน์ ต่อมนุษย์ ต้นไม้ใหญ่บนภูเขาสามารถกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ ทำให้เกิดเป็นน้ำตกอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทุกคนเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ ต้นไม้นำมาทำเป็นเรือแพซึ่งเป็นยานพาหนะในการเดินทางของมนุษย์ มนุษย์ใช้กระดาษที่ผลิตมาจากเยื่อไม้ต่างๆ และมนุษย์ใช้ถ่านไม้ซึ่งเป็นพลังงานที่ได้มาจากต้นไม้ พืชจึงเป็นสิ่ง แวด ล้อมที่อยู่ใกล้ตัวมนุษย์ และมีความสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์มากที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะพืชเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค แต่ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี การคมนาคมและการสื่อสาร ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้มีความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรมากยิ่งขึ้น



หลังจากนั้นคุณครูก็วิเคราะห์บทความของเพื่อนๆ   อาจารย์ได้นำสิ่งที่เหมือนกล้องส่องทางไกลมาให้ดู และมีกิจกรรมให้ทำโดยมีการแจกอุปกรณ์และอธิบายขั้นตอนดังนี้



 อุปกรณ์ 

1.กระดาษ A4

2.ไม้เสียบลูกชิ้น

3.สีเมจิก

4.เทปกาว



 ขั้นตอน 

-อาจารย์ให้กระดาษมาแบ่งกัน 4 คน ต่อ กระดาษ 1 แผ่น พับครึ่งแบ่ง4 ส่วน

-แล้ววาด 2 ด้าน คือ ด้านแรกวาดรูปตะกร้า และอีกด้านหนึ่งวาด

 ผลไม้ ให้ทั้งสองด้านมีความสัมพันธ์กัน

-ติดไม้เสียบลูกชิ้นกับกระดาษไว้ตรงกลางและเอาเทปกาวติดรอบๆ แล้วลองหมุนดู


 รูปกิจกรรม 





 นำไปประยุกต์ใช้ (Application) 


      สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนและนำเอากิจกรรมที่อาจารย์สอนไปให้เด็กสอนใ้ห้เด้กทำได้




 การประเมินผล ( Evaluation ) 


 ประเมินตนเอง (Self) = ตั้งใจฟังอาจารย์สอน ไม่ค่อยคุย


 ประเมินเพื่อน (Friend)  = วันนี้เพื่อนๆไม่ค่อยตั้งใจฟังอาจารย์สัก   เท่าไร                


 ประเมินอาจารย์(Teacher) = วันนี้อาจารย์สอนดี อธิบายสอน ชัดเจน   เข้าใจง่าย                                                     


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น