บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 23 เดือน กันยายน 2557
ชื่อ นางสาว รัตติพร ชัยยัง กลุ่มเรียน 102 เวลา14.10 น. - 17.30
ความรู้ที่ได้รับ(The Knowledgo Gained )
สำหรับวันนี้การเรียนการสอนเริ่มจากการกิจกรรมการทำลูกยาง โดยอาจารย์เตรียมกระดาษและอุปกรณ์มาให้ แล้วสอนวิธีการทำลูกยาง ถ้านำกิจกรรมนี้ไปใช้กับเด็ก ให้เด็กได้สร้างผลงานด้วยตนเอง ตามทฤษฎี Constructivism ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง
และวันนี้ก็มีการนำเสนอบทความของเพื่อนๆ
สรุปบทความ
1. Napawan Krudkhunthian
สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก “เป็ด” และ “ไก่”
ผู้แต่ง ครูลำพรรณี มืดขุนทด จาก โรงเรียนบ้านหนองผือจำเริญพัฒนาผู้แต่ง ครูลำพรรณี มืดขุนทด จาก โรงเรียนบ้านหนองผือจำเริญพัฒนาผู้แต่ง ครูลำพรรณี มืดขุนทด จาก โรงเรียนบ้านหนองผือจำเริญพัฒนา คุณครูจึงได้การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหา ความรู้ตามแนวทางของ สสวท.ผ่านนิทานเรื่อง “หนูไก่คนเก่ง” ซึ่งสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักการช่วยเหลือตัวเอง อาบน้ำแต่งตัวเองได้ ทำงานส่งครูได้ทันเวลา การเรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนนำเด็กร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทำท่าทางประกอบเพลงอย่างอิสระ ฟังนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง สนทนาและตั้งคำถามในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่งที่ เด็กชื่นชม คือ ไก่และเป็ด ขั้นตอนต่อมาชวนเด็กตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น เช่น “อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างคะ?”, รู้ได้อย่างไรและบอกรายละเอียดมาให้มากที่สุด เป็นต้น สำรวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ด โดยนำลูกไก่และลูกเป็ดมาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด อาหารของลูกไก่และลูกเป็ดด้วยตาเปล่ากับแว่นขยาย และต้องบอกรายละเอียดให้มากที่สุด
ผู้แต่ง ครูลำพรรณี มืดขุนทด จาก โรงเรียนบ้านหนองผือจำเริญพัฒนาผู้แต่ง ครูลำพรรณี มืดขุนทด จาก โรงเรียนบ้านหนองผือจำเริญพัฒนาผู้แต่ง ครูลำพรรณี มืดขุนทด จาก โรงเรียนบ้านหนองผือจำเริญพัฒนา คุณครูจึงได้การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหา ความรู้ตามแนวทางของ สสวท.ผ่านนิทานเรื่อง “หนูไก่คนเก่ง” ซึ่งสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักการช่วยเหลือตัวเอง อาบน้ำแต่งตัวเองได้ ทำงานส่งครูได้ทันเวลา การเรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนนำเด็กร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทำท่าทางประกอบเพลงอย่างอิสระ ฟังนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง สนทนาและตั้งคำถามในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่งที่ เด็กชื่นชม คือ ไก่และเป็ด ขั้นตอนต่อมาชวนเด็กตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น เช่น “อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างคะ?”, รู้ได้อย่างไรและบอกรายละเอียดมาให้มากที่สุด เป็นต้น สำรวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ด โดยนำลูกไก่และลูกเป็ดมาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด อาหารของลูกไก่และลูกเป็ดด้วยตาเปล่ากับแว่นขยาย และต้องบอกรายละเอียดให้มากที่สุด
2. Suthasinee Tamarnon
การส่งเสริมพัฒนาการของ เด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
3. Narumon Isara
บทความเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย โดย มิสวัลลภา ขุมหิรัญ หลักการและความสำคัญ วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและ เทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและ ยั่งยืน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการ จัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่ง ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
4. Yapadee Sonprasert
อาจารย์ได้สอนต่อโดยใช้ Power Point เรื่องทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีเนื้อหาดังนี้