Diagonal Select - Hello Kitty

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


 บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์ 


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 วันที่ 11 เดือน พฤศจิกายน 2557

ชื่อ   นางสาว รัตติพร ชัยยัง กลุ่มเรียน 102 เวลา14.10 น. - 17.30 




ความรู้ที่ได้รับ                       ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียน โดยการสอบสอนตามแผนการเรียนที่เขียนส่งอาจารย์ ซึ่งมีหน่วยต่างๆ ดังนี้กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ (ใช้แผนวันจันทร์)   กลุ่มที่2 หน่วยนกหงส์หยกใ(ช้แผนวันอังคาร) กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด(ใช้แผนวันพุธ)   กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมงใ(ช้แผนวันพฤหัสบดี)กลุ่มที่หน่วยกล้วย(ใช้แผนวันศุกร์)  กลุ่มที่6 หน่วยช้าง(ใช้แผนวันจันทร์) กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อ(ใช้แผนวันอังคาร)  กลุ่มที่8 หน่วยสัปปะรด(ใช้แผนวันพุธ)  กลุ่มที่9 หน่วยส้ม(ใช้แผนวันพฤหัสบดี)

***วันนี้มีการนำเสนองานทั้งหมด 6กลุ่ม อีก3กลุ่มนำเสนออาทิตย์ต่อไป***

คือ กลุ่มนกหงษ์หยก/กลุ่มสัปปะรด/และกลุ่มส้ม


หน่วย ผลไม้



เป็นกลุ่มแรกที่นำเสนอดังนั้นข้อผิดพลาดในการสอนจึงมีเยอะเพราะอาจารย์คอยชี้แนะวิธีการสอนการ
พูดที่ถูกต้องเป็นขั้นๆ วิธีการสอนกลุ่มนี้คือ สอนเรื่องชนิดของผลไม้ โดยการหยิบผลไม้ที่เหมือนกันโดย
ใช้เกณฑ์ในการหยิบแล้วนับจำนวนผลไม้หมดก่อนคือน้อยกว่าหมดหลังคือมากกว่า สามารถบูรณาการ
คณิตศาสตร์ในเรื่องของการนับจำนวน



หน่วย แตงโม





กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมง ( Watermelon )
วิธีการสอน
 การประกอบอาหารการทำน้ำแตงโมปั่นโดยการอธิบายส่วนประกอบต่างๆพร้อมสาธิตวิธีการทำให้เด็กดูแล้วให้เด็กออกมาทำให้ครบทุกคนแล้วให้เด็กชิมรสชาติของน้ำแตงโม


หน่วย ช้าง





กลุ่มที่6 หน่วยช้าง ( Elephant )
วิธีการสอน
 เรื่องชนิดของช้างกลุ่มนี้วิธีการสอนก็จะคล้ายกับกลุ่มผลไม้เพราะได้สอนวันเดียวกันแต่เนื่องจากกลุ่มนี้มีตัวอย่างให้ดูแล้วเวลาออกมานำเสนอก็ยังมีข้อผิดพลาดอยู่ คือ ภาพช้างเล็กเกินไปไม่มีตัวเลขกำกับให้เด็กเห็นควรวางเรียงให้เป็นฐาน 10 หรือ 5 เด็กจะได้เข้าใจในการนับจำนวน กลุ่มนี้ใช้เกณฑ์แบ่งช้างเอเชียกับช้างแอฟริกา



หน่วย ข้าวโพด



กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด (Corn) วิธีการสอน สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังโดยการเล่านิทานเรื่องเจ้าหมูจอมตะกละซึ่งสอดแทรกประโยชน์และข้อตวรระวังลงไปด้วย/ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก/ครูโชว์ภาพแล้วให้เด็กบอกภาพไหนเป็นประโยชน์และภาพไหนเป็นข้อควรระวัง



หน่วย กล้วย




กลุ่มที่5 หน่วยกล้วย ( Banana )
วิธีการสอน
 เรื่องประโยชน์และข้อควรระวังคล้ายกับกลุ่มข้าวโพดเนื่องจากทำหัวข้อเรื่องเดียวกันจึงมีวิธีการสอนที่คล้ายกันต่างกันตรงที่กลุ่มข้าวโพดครูจะชูภาพและให้เด็กบอกว่าภาพไหนเป็นประโยชน์หรือโทษแต่กลุ่มให้เด็กออกมานำภาพไปติดตามที่เด็กเข้าใจว่าอันไหนเป็นประโยน์และโทษ







หน่วย ผีเสื้อ


                            

กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อ ( Butterfly )

วิธีการสอน ลักษณะ/สี/ขนาด/รูปทรง ให้เด็กสังเกตลักษณะต่างๆของผีเสื้อ 2 ชนิดแล้วมาหาความสัมพันธ์เหมือนต่าง ข้อปรับปรุงคืออันไหนที่ใช้สีระบายได้ให้ใช้สีวาดรูปได้ให้วาดเพราะเด็กยังอ่านหนังสือไม่ออกไม่รู้หรอกว่าเราเขียนอะไรใช้สี/วาดภาพเด็กจะเข้าใจกว่าและการหาความสัมพันธ์อันไหนที่หาไปแล้วให้วงไว้เพื่อให้เด็กเห็นว่าอันไหนเอาไปแล้ว





การนำไปประยุกต์ใช้ (Application)             
                         
               สามารถนำความรู้ที่ิได้จากการเขียนแผนการสอนกิจกรรมต่างๆรวมถึงวิธีการสอนเทคนิคต่างๆสามารถนำไปใช้ในสอนเด็กในอนาคตได้จริงเพราะการเขียนแผนรวมถึงวิธีการสอนเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องใช้สอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่จะเป็นครูต้องสามารถเขียนแผนการสอนและสามารถนำแผนที่เขียนนั้นไปสอนเด็กให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างถูกต้องและเป็นขั้นตอน


การประเมิน (Evaluation)


ประเมินตนเอง (Self)               

                แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและอธิบายถึงวิธีการสอนเทคนิคการสอนเด็กให้เด็กเข้าใจเป็นขั้นๆและสามารถที่จะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ได้จริงและนำไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้น


ประเมินเพื่อน (Friends)                      

                เพื่อนในกลุ่มรวมถึงเพื่อนในห้องพูดคุยถึงข้อสงสัยในเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนอว่ามีข้อบกพร่องตรงไหนที่เพื่อนควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นเพื่อนๆร่วมทำกิจกรรมและสนใจฟังเพื่อนออกมานำเสนอได้ดี 


ประเมินอาจารย์  (Teacher)         

                อาจารย์มีการถามถึงวิธีและกระบวนการสอนว่ามีตรงไหนที่เราคิดว่าไม่ถูกต้องควรปรับปรุงควรสอนแบบไหนก่อนก่อนที่จะไปสอนอีกแบบหนึ่งมีการถามให้เราเกิดความคิดและความเข้าใจในวิธีการสอนนั้นจริงๆและสามารถนำเทคนิคและวิธีการต่างๆไปสามารถใช้กับเด็กได้จริงในอนาคต





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น