Diagonal Select - Hello Kitty

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย


เรื่องการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

บทคัดย่อของ ณัฐชุดา สาครเจริญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


         ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

         1. เพื่อระดับการศึกษาการพัฒนาของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลป

     สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้  

         2.  เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็ก 

    ปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลป

    สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

     ความสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

       การนำวิธีการสอนวิทยาศาสตร์มาสอดแทรกในการเรียนการสอนระดับปฐมวัยจะส่งเสริมให้เด็กเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ และศึกษาสิ่งต่างๆด้วยการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้กระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านให้เกิดขึ้นอย่างสมดุลและเต็มศักยภาพ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้การสอนเด็กปฐมวัย เช่นเดียวกับผู้ใหญ่แต่ขึ้นกับกระบวนการใช้ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ดังนี้ ขั้นกำหนดปัญญา ขั้นตั้งสมมุติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปราย

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่

1. แผนการจัดกิจกรรมรูปศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2. แบบประเมินการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย 

  การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

      ในการศึกษาค้นคว้า ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้

1. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จากรายงานการศึกษาเบื้องต้น

2. ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 
 
ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ลักษณะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 6 ด้าน ดังนี้

     2.1 การสังเกต

     2.2 การจำแนก

     2.3 การวัด

     2.4 การสัมพันธ์

     2.5 การสื่อสาร

     2.6 การลงความเห็น 

2. การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐาน หมายถึง ระดับของการเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียนรู้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยทั้ง 6 ด้าน ซึ่งประเมินได้จากแบบประเมินที่ผูวิจัยสร้างขึ้นตามความหมายดังนี้

      การสังเกต หมายถึง ความหมายในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกความแตกต่างของสิ่งนั้นได้
    การจำแนก หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยมรเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภท ได้แก่ ความเหมือน ความแตกต่างและสัมพันธ์
    การวัด หมายถึง ความสามารถในการประมาณของสิ่งต่างๆรวมถึงการประมาณความแตกต่างของวัตถุ โดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่นในการกำหนดค่า
    การหามิติสัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆของวัตถุหรือบอกตำแหน่งของวัตถุได้แก่ ขนาด รูปร่าง ระยะทาง ตำแหน่ง พื้นที่ สถานที่ไป
    การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการบอก อธิบายสิ่งค้นพบให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
    การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการสรุปผลของการศึกษาค้นคว้าจากการใช้ทักษะการสังเกต หรือการทดลองได้อย่างมีเหตุผล

3. รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้หมายถึง กิจกรรมการเรียนรู้ที่ศิลปะสร้างสรรค์เป็นสื่อการสร้างสาระหรือสิ่งที่เรียนรู้ ความเข้าใจและมีความสุขกับการเรียนรู้ รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ที่ใช้ในการวิจัยนี้จำแนกเป็น 6 ลักษณะดังนี้ ศิลปะย้ำ หมายถึงการระบายสีหรือการใช้เทคนิคอะไรก็ได้ในการวาดภาพ ตัดแปะ ตามภาพของสิ่งที่เรียนเพื่อการย้ำสิ่งที่เด็กเรียนรู้ ศิลปะปรับภาพ หมายถึงการนำวัสดุที่มาสร้างงานศิลปะประดิษฐ์เพื่อย้ำความเข้าใจในสาระที่เรียนเป็นการทบทวนความรู้ ศิลปะเปลี่ยนแบบ หมายถึงการใช้สิ่งที่เด็กเรียนรู้มาเปลี่ยนรูปแบบเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ตนชอบ ศิลปะถ่ายโยง หมายถึงการใช้ศิลปะเป็นสื่อการโยงการรับรู้ของเด็กด้วยการทำภาพ เช่น วาดหรือปั้นโดยการสังเกตถ่ายโยงไปสู่การเรียนรู้ตัวแบบของศิลปะนั้นๆ ศิลปะบูรณาการ หมายถึงการนำความรู้ที่ได้มาเป็นพื้นฐานของการพัฒนางานศิลปะเป็นภาพหรือสิ่งประดิษฐ์โดยการสังเกตและเปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดภาพ จากนั้นให้เพิ่มเติมได้ตามเพี่อการเรียนรู้

       วิธีการดำเนินการทดลอง

1.ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะกระบวนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest) ก่อนทดลอง
2. ผู้วิจัยทำการดำเนินการทดลองในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ใช้เวลาทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3วัน ใน วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันละ 40 นาที รวม 24 ครั้ง ทำการทดลองในช่วงเวลา 09.30 –10.10. วันที่ 25 มกราคม 2548 – วันที่ 24 มีนาคม 2548 ผู้วิจัยดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนในการจัดกิจกรรมตามวัน และเวลาดังนี้
3. เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย (Posttest) หลังเสร็จสิ้นการทดทอง โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ใช้ในการทดลองก่อนทดลอง
4. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย  มาตรวจให้คะแนนและนำไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติต่อไป


 การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.ให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ (Active Learning) การลงมือกระทำจริงด้วยตนเองการได้รับประสบการณ์ตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 52.จัดกิจกรรมตามสภาพจริง (Authentic activity) การจัดกิกรรมที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่เป็นการส่งเสริมดารเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม3. ด้านประสบการณ์เดิมของเด็ก (prior knowledge) การเรียนรู้สิ่งใหม่นั้นฐานมาจากประสบการณ์เดิมของเด็ก4. สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก (Teacher and Child interaction) ครูต้องเป็นผู้ให้ คำแนะนำ กำลังใจ เอื้ออำนวยช่วยเหลือให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง5. สะท้อนความคิด (Reflective thinking) ระหว่างที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ การสะท้อนความคิดเป็นลักษณะหนึ่งที่ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดไตร่ตรองถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการกระทำที่ปฏิบัติลงไป

     สรุปผลการศึกษา

  1. พัฒนาการกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังจากจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้โดยภาพรวมและจำแนกตามทักษะอยู่ในระดับดี

 2. พัฒนาการกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังจากจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
   

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น